ช่องเขาขาด จังหวัดกาญจนบุรี
หากพูดถึงเมืองกาญจนบุรี หลายๆคนคงนึกถึง ภูเขา แม่น้ำ น้ำตก รวมถึงที่พักที่เป็นแพริมแม่น้ำอันสวยงาม แต่นอกจากสิ่งที่กล่าวมานี้แล้ว จังหวัดกาญจนบุรียังมีเรื่องราวประวัติศาตร์ที่น่าสนใจอื่นๆอีกมากมาย โดยเฉพาะเรื่องราวในช่วง สงครามโลก ครั้งที่ 2 วันนี้เลยขอนำเสนอสถานที่ที่น่าสนใจและน่าแวะไปเยี่ยมชม นั่นก็คือ ช่องเขาขาด สถานที่แห่งนี้อาจจะไม่ใช่สถานที่ที่สวยงามชวนให้มาเช็คอินหรือถ่ายภาพเพื่อความสวยงามมากนัก แต่เป็นแหล่งที่รำลึกถึงการสูญเสีย และความโหดร้ายที่เกิดจากสงครามโลกครั้งที่สอง.....
ช่องเขาขาด" หรือ "ช่องไฟนรก" เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า (เส้นทางรถไฟสายมรณะ)ตลอดเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า (เส้นทางรถไฟสายมรณะ)มีหลายจุดที่มีเนินหิน ภูเขา หน้าผา หรือหุบเหว ขวางอยู่จึงต้องขุดให้เป็นช่องเพื่อที่รถไฟสามารถวิ่งผ่านไปได้ซึ่งที่ช่องเขาขาด หรือ ช่องไฟนรก เป็นจุดที่ใหญ่ที่สุดบนเส้นทางนี้ การขุดเจาะช่องเขาขาดเริ่มในเดือนเมษายนปีพ.ศ. 2486 ปรากฏว่างานล่าช้ากว่ากำหนดจึงมีช่วงที่เร่งงานซึ่งแรงงานแต่ละกะต้องทำงานถึง 18 ชั่วโมงโดยงานส่วนใหญ่ล้วนใช้แรงคนทั้งสิ้น เช่นการสกัดภูเขาด้วยมือ ซึ่งเป็นการทำงานที่ทารุณยิ่ง เนื่องจากต้องปีนลงไปสกัดในช่องเขาซึ่งบางช่วงสูงถึง 11 เมตร จนแทบไม่มีอากาศหายใจทั้งยังต้องทำงานท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าวในช่วงเดือนมีนาคม ในภาวะขาดแคลนน้ำและอาหาร เมื่อเจ็บป่วยแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็ไม่เพียงพอต่อการพยาบาลต้องดูแลกันตามมีตามเกิด เชลยศึกและกรรมกรที่ช่องเขาขาดต้องทำงานตอนกลางคืนด้วยแสงไฟจากคบเพลิงและกองเพลิงทำให้สะท้อนเห็นเงาของเชลยศึกและผู้คุมวูบวาบบนผนังทำให้ที่นี่ได้รับการขนานนามว่า "ช่องไฟนรก" หรือ Hellfire Pass ในภาษาอังกฤษ
เนื่องจากการก่อสร้างเส้นทางนี้ มีการสูญเสียชีวิตของเชลยที่ถูกทารุนอย่างโหดร้าย เป็นจำนวนมาก ในระหว่างทางเดินไปยังช่องเขาขาด จะมีการเขียนข้อความ การวางดอกไม้ การปักธงชาติต่างๆ เพื่อเป็นการรำลึกถึงผู้คนเหล่านั้นให้เห็นอยู่เป็นเนืองๆ
ขอบคุณข้อมูล จาก
https://th.m.wikipedia.org/wiki/ช่องเขาขาด
ช่องเขาขาด" หรือ "ช่องไฟนรก" เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า (เส้นทางรถไฟสายมรณะ)ตลอดเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า (เส้นทางรถไฟสายมรณะ)มีหลายจุดที่มีเนินหิน ภูเขา หน้าผา หรือหุบเหว ขวางอยู่จึงต้องขุดให้เป็นช่องเพื่อที่รถไฟสามารถวิ่งผ่านไปได้ซึ่งที่ช่องเขาขาด หรือ ช่องไฟนรก เป็นจุดที่ใหญ่ที่สุดบนเส้นทางนี้ การขุดเจาะช่องเขาขาดเริ่มในเดือนเมษายนปีพ.ศ. 2486 ปรากฏว่างานล่าช้ากว่ากำหนดจึงมีช่วงที่เร่งงานซึ่งแรงงานแต่ละกะต้องทำงานถึง 18 ชั่วโมงโดยงานส่วนใหญ่ล้วนใช้แรงคนทั้งสิ้น เช่นการสกัดภูเขาด้วยมือ ซึ่งเป็นการทำงานที่ทารุณยิ่ง เนื่องจากต้องปีนลงไปสกัดในช่องเขาซึ่งบางช่วงสูงถึง 11 เมตร จนแทบไม่มีอากาศหายใจทั้งยังต้องทำงานท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าวในช่วงเดือนมีนาคม ในภาวะขาดแคลนน้ำและอาหาร เมื่อเจ็บป่วยแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็ไม่เพียงพอต่อการพยาบาลต้องดูแลกันตามมีตามเกิด เชลยศึกและกรรมกรที่ช่องเขาขาดต้องทำงานตอนกลางคืนด้วยแสงไฟจากคบเพลิงและกองเพลิงทำให้สะท้อนเห็นเงาของเชลยศึกและผู้คุมวูบวาบบนผนังทำให้ที่นี่ได้รับการขนานนามว่า "ช่องไฟนรก" หรือ Hellfire Pass ในภาษาอังกฤษ
ทางเดินลงไปชมช่องเขาขาด |
ทางเดินลงไปชมช่องเขาขาด |
ทางเดินลงไปชมช่องเขาขาด |
ทางเดินลงไปชมช่องเขาขาด |
ร่องรอยของทางรถไฟสายมารณะ |
ร่องรอยของทางรถไฟสายมรณะ |
ร่องรอยอุปกรณ์ที่ใช้เจาะช่องเขาเพื่อทำเส้นทางรถไฟ |
ร่องรอยอุปกรณ์ที่ใช้เจาะช่องเขาเพื่อทำเส้นทางรถไฟ |
จุดสิ้นสุดของเส้นทางสายมรณะ หรือ ช่องเขาขาด |
ขอบคุณข้อมูล จาก
https://th.m.wikipedia.org/wiki/ช่องเขาขาด
ช่องเขาขาด จังหวัดกาญจนบุรี
Reviewed by ฮัลโหล เนยซี่
on
กรกฎาคม 30, 2560
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: